องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลับ อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี :www.banklab.go.th

 
 

 

 

ข่าวประชาสัมพันธ์


ประชาสัมพันธ์การหยุดเผาต่อซังฟางข้าว

    รายละเอียดข่าว

 ด้วยภูมิประเทศและภูมิอากาศของประเทศไทย อยูในที่ต้องที่เหมาะสมแก่การทําการเกษตรเขตร้อนทุก รูปแบบโดยเฉพาะอยางยิ่งการปลูกข้าวประเทศไทยนับ ได้ว่าเป็นอู่ข้าวอู่นํ้าของโลกและยังเป็นประเทศหลักในการปลูกข้าวเพื่อการส่งออกอันดับต้นๆของโลกมาถึง

วันนี้นอกจากความเชี่ยวชาญในการปลูกข้าวเพื่อการ บริโภคและการส่งออกแล้วประเทศไทยยังต้องมีความ รับผิดชอบในการช่วยลดภาวะโลกร้อนหรือภาวะอากาศ การเปลี่ยนแปลงข้าวจํานวนมหาศาลที่ประเทศไทยผลิต ออกมาแต่ละปี หลังฤดูเก็บเกี่ยวนั้นส่วนที่เหลือจากการ เกี่ยวข้าวคือ "ฟางข้าว” จํานวนมหาศาลเช่นกนโดยฟางข้าวที่ได้หลังจากปลูกข้าวนั้นเกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่มี การจัดการที่ดีและเหมาะสมเท่าที่ควร และเลือกใช้วิธี "เผาทําลาย” ซึ่งนับวาเป็ นการสร้างมลภาวะทางอากาศอยางมากนับเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลกระทบให้เกิดภาวะโลกร้อนจากภาคเกษตรกรรมอีกด้วย จากการศึกษาข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากภาคเกษตรมีที่มาจากหลายแหล่งอาทิ ระบบยอย่ อาหารของปศุสัตว์ การทํานาข้าว การเผาเศษซากพืชการ ใช้ปุ๋ ยและการหายใจของดิน เป็นต้น

 จากข้อมูลของ คณะกรรมาธิการระหวางรัฐบาลการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) พบวาในช่วงระหวางปี่ 1990-2005 ประเทศกาลังพัฒนาปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาค เกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 32% ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วมีการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตรกรรมลดลง 12% และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตรของ ประเทศไทยคิดเป็ น 13%

 

               ทั้งนี้จากการกรมควบคุมมลพิษ พบวาพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวและมีการเผาฟางข้าวมากที่สุด ในประเทศไทยมีถึง 13 จังหวัดซึ่งส่วนใหญ่จะอยูในภาคกลาง เช่น ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี อยุธยา เป็นต้นที่ เป็นเช่นนี้เพราะมีการทําเกษตรกรรมเพิ่มมากขึ้นใน ประเทศกาลังพัฒนาเพื่อผลิตอาหารให้เพียงพอต่อ ประชากรที่เพิ่มมากขึ้น สําหรับปริมาณฟางข้าวที่ ประเทศไทยผลิตออกมาแต่ละปี มากถึง 50-60 ล้านตันต่อ ปี และสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาออกสู่โลกมากถึง 27 ล้านตันกิโลกรัมคาร์บอน ไนโตรเจนที่ สูญเสียไปจากการเผาทําลาย 462 ล้านกิโลกรัมและ ไนโตรเจนฝุ่นละอองที่เกิดขึ้น 100-700 ล้านกิโลกรัม

 

                 ช่วงระยะเวลาที่เกษตรกรนิยมเผาฟางข้าวจะเริ่ม หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวประมาณปลายเดือนมกราคม เป็ นต้นไปและการไถพรวนดินจะทําในเดือนเมษายน ต่อจากนั้นจะหวานข้าวก่อนเทศกาลสงกรานต์ เมื่อเข้าฤดูฝนฝนจะตกและทําให้ต้นข้าวงอกใหม่ประมาณเดือน พฤษภาคมและจะเก็บเกี่ยวอีกทีต้นเดือนธันวาคมไปถึง ต้นเดือนมกราคม ทําให้ต้นข้าวอ่อนแอและไม่ เจริญงอก งามเท่าที่ควร ถ้าไถกลบฟางก็จะมีปัญหาข้าวไม่ค่อยงอก และเจริญเติบโตไม่ดี หากไม่ใช้วิธีการเผาฟางข้าว วิธีการ ไถกลบเป็ นวิธีที่เป็นมิตรกบสิ่งแวดล้อมมากที่สุดแต่ วิธีการนี้ต้องอาศัยเวลาในการยอยสลายเพื่อให้ ่ อินทรีย์วัตถุในดินได้ยอยสลายอย่างสมบูรณ์และเกิดแร่ ธาตุอาหารในดินสําหรับการปลูกข้าวครั้งใหม่ได้ ถ้าการ ยอยสลายฟางข้าวไม่สมบูรณ์และเริ่มการปลูกข้าวครั้ง ใหม่ทันที ข้าวจะไม่โตและตายในที่สุด ดังนั้นการมี เครื่องจักรกล รถไถที่มีประสิทธิภาพในการไถกลบตอซัง นับเป็นวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่ง

 

              ผลกระทบที่จะเกิดจากการเผาฟางตอซังและเศษ วัสดุทางการเกษตร

             • ทําให้พื้นที่เพาะปลูกเสื่อมโทรมเผาผลาญ อินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารในดิน

             • ทําลายโครงสร้างดินที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก พืชลงอยางต่อเนื่องทุกปี

             • ก่อให้เกิดเขม่าควัน เถ้า ฝุ่นละออง ก๊าซพิษ ส่งผล เสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

             • ส่งผลให้เกิดการเสียสมดุลธรรมชาติ อากาศร้อน ขึ้น

 

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการไถกลบตอซัง และเศษวัสดุทางการเกษตร

 ด้วยเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพ

             1.โครงสร้างดินมีความ อุดมสมบูรณ์ แร่ธาตุ อาหารในดินเพิ่มมาก ขึ้น ไม่สร้างมลพิษ ทางอากาศ สะอาด ปลอดภัย เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมการใส่ปุ๋ย หมักมีอินทรีย์วัตถุ แร่ธาตุ ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมในดินเพิ่มมากขึ้นและช่วยใน การยอยสลายได้เร็วขึ้นการใส่นํ้าสกดชีวภาพมี  อินทรีย์วัตถุ แร่ธาตุฟอสฟอรัส โพแทสเซียมในดินเพิ่ม มากขึ้นและช่วยในการยอยสลายได้เร็วขึ้น

            2.การเพิ่มมูลค่าจากการหาประโยชน์จากฟางข้าว น่าจะเป็ นแรงจูงใจหลักให้เกษตรกรในการสร้างรายได้ ฟางข้าวนั้นมีประโยชน์มากมายเช่น นําไปเลี้ยงสัตว์ คลุม หน้าดินรักษาความชุ่มชื้น ใช้ในการเพาะเห็ด ปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีใหม่ๆนําเอาฟางข้างไปใช้ เป็นชีวมวลทางเลือกเสริมเชื้อเพลิงจําพวกแกลบและกาก อ้อยที่โรงงานนํ้าตาลและโรงสีข้าวมีความต้องการสูงและ ราคาเริ่มสูงขึ้นหรือทําเป็นนํ้ามัน ชีวภาพ Bio oil อีกด้วย



    เอกสารประกอบ

ประชาสัมพันธ์การหยุดเผาต่อซังฟางข้าว
 
    วันที่ลงข่าว
: 7 ก.พ. 2565
    ผู้ลงข่าว : ผู้ดูแลระบบ